Version

การดูแลภาวะกระเพาะอาหาร และลำไส้อักเสบแบบเฉียบพลัน
( Acute Critical Care Gastroenteritis )

ภาวะท้องเสียแบบเฉียบพลันถือเป็นความผิดปกติที่พบได้บ่อยรองลงมาจากอาการคันในสุนัข

สาเหตุ เกิดมาจากการเปลี่ยนอาหาร การกินอาหารมากเกินไป การกินสารพิษ การกินอาหารที่สกปรก และการติดเชื้อ

รูปแบบการรักษา การรักษาโดยส่วนใหญ่จะเป็นการรักษาตามอาการ เนื่องจากสัตว์ที่ตายส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการสูญเสียอิเล็กโตรไลต์ และน้ำ ร่วมกับการเกิดภาวะแห้งน้ำ ภาวะ acidosis และช็อกตายได้

ลักษณะของMucosal lining มีหน้าที่ดังนี้

  • villus crypts มีหน้าที่หลั่งของเหลวเข้าสู่ทางเดินอาหาร - หลังจากนั้นจะมีเซลล์เคลื่อนย้ายไปที่ส่วนปลายของ villus ภายใน3-5วันโดยในระหว่างที่มีการเคลื่อนย้ายของเซลล์จะมีการเปลี่ยนแปลงหน้าที่ของ crypts จากการหลั่งของเหลวมาเป็นการย่อยและดูดซึมอาหาร
  • สุดท้ายส่วนปลายของ villus ก็จะดูดซึมสารอาหารจำพวกโปรตีน คาร์โบไฮเดรต เกลือและน้ำ โดยพื้นที่ในการดูดซึมจะขยายมากกว่า 30 เท่า

การรักษาภาวะท้องเสียแบบเฉียบพลัน

  • จำกัดอาหารนาน 12-18 ชั่วโมง แต่ในลูกสุนัข (puppies) ไม่ต้องนานขนาดนี้จากนั้นก็มีการให้สารน้ำ อิเล็กโตรไลต์ และปรับสมดุลกรด-เบสภายในร่างกาย
  • พิจารณาถ่ายพยาธิให้ในทุกครั้งที่สัตว์ป่วยมีอาการท้องเสีย
  • การให้ยาปฏิชีวนะควรที่จะเลือกใช้ในกรณีที่มีอาการท้องเสียแบบมีเลือดปน มีไข้ และมีการพบภาวะที่ร่างกายมีการติดเชื้อสูงเท่านั้น เนื่องจากยาปฏิชีวนะที่ให้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงแบคทีเรียประจำถิ่น (Normal flora) ที่อยู่ภายในทางเดินอาหารและยับยั้งการต่อต้านเชื้อภายในทางเดินอาหาร

ภาวะท้องเสียแบบเฉียบพลันรุนแรง (Severe acute diarrhea)
สาเหตุมาจาการติดเชื้อพาร์โวไวรัสซึ่งจะเป็นเชื้อที่ก่อโรครุนแรงและพบบ่อยในลูกสุนัข

เป้าหมายการรักษา

  • ชดเชยภาวะขาดน้ำ
  • รักษาและป้องกันภาวะติดเชื้อ (Sepsis)
  • แก้ไขระดับของโพแทสเซียมและกลูโคส
  • ตรวจวัดระดับความดันโลหิต
  • ทำให้หยุดอาเจียน
  • ควบคุมระดับความเจ็บปวด
  • การให้สารอาหาร

โปรแกรมการรักษาการติดเชื้อพาร์โวไวรัสในสุนัข

การรักษาโดยทั่วๆไป :

  • ให้ยาปฏิชีวนะกลุ่ม Penicillin/Cephalosporin เข้าเส้นเลือด (TID) ร่วมกับยาปฏิชีวนะกลุ่ม Quinolones ในลูกสุนัขพันธุ์เล็ก
  • ตรวจค่า Ht/TSP/Glucose
  • ทดแทน KCl 20 meq+50% Dexcrose 20 ml

การรักษา 2 ชั่วโมงแรก :

  • ให้สารน้ำภาวะชดเชยขาดน้ำและสารน้ำเพื่อการคงสภาพในช่วง 12 ชั่วโมงแรกโดยในช่วง 2 ชั่วโมงแรกจะต้องให้ไป 1/4-1/2 ก่อนเพื่อแก้ไขภาวะความดันเลือดและปรับปริมาณเลือดภายในหลอดเลือด
  • จากนั้นสามารถให้สารคอลลอยด์ปริมาณ 5-20 ml/kg นานกว่า 1- 4 ชั่วโมงกรณีที่เกิดภาวะช็อกหรือAlbuminต่ำ

การรักษาหลังจาก 2 ชั่วโมงแรก :

  • ให้สารน้ำต่อเนื่องนานกว่า 10 ชั่วโมง
  • ตรวจค่าHt+TSP+K+Glucose
  • ให้ความอบอุ่นแก่สัตว์โดยอาจให้นอนลงบน Heat pad
  • สามารถให้ Plasma ในกรณีที่ระดับ Plasma Albumin น้อยกว่า 15
  • พิจารณาให้เลือดหรือ Oxyglobin กรณีที่ลูกสัตว์แย่มี Ht น้อยกว่า 15-20

การรักษาช่วง 2-3 ชั่วโมง :

  • ให้ Metoclopramide เข้าเส้นเลือดหรือกล้ามเนื้อเพื่อแก้ไขอาการอาเจียนและแก๊สในลำไส้
  • ให้ Buprenorphine เพื่อแก้ไขความเจ็บปวด (TID/QID)
  • เริ่มให้ Cimetidine/Ranitidine เข้าเส้นเลือดเพื่อป้องกันแผลหลมในทางเดินอาหารและReflux oesophagitis
  • ให้ Amikacin เข้าเส้นเลือดถ้าความดันสูงขึ้นหรืออาจเปลี่ยนเป็นให้ Quinolone ในกรณีที่สัตว์ป่วยมีภาวะไตเป็นพิษ

การรักษาช่วง 4-5 ชั่วโมง :

  • เริ่มให้อาหารประมาณ1/3ของความต้องการใน 24 ชั่วโมง คำนวนจาก [(bw×30)+70] × illness factor (1.25-1.5)

การรักษาช่วง 12 ชั่วโมง :

  • ให้สารน้ำต่อเนื่องเพื่อชดเชยภาวะขาดน้ำหรือให้ในอัตรา 1.5-2 เท่าของอัตราสารน้ำเพื่อการคงสภาพของร่างกาย

การรักษาภาวะท้องเสียแบบเรื้อรัง 

  • พิจารณาให้เลือด Plasama คอลลอยด์หรือ Oxyglobin เท่าที่จำเป็น
  • ควบคุมอาการอาเจียนโดยให้ Metoclopramide หรือเติม Ondansetron 2-3x/วัน หรือเติม Prochlorpemazine

การให้อาหาร

  • เริ่มให้อาหารครั้งแรกพร้อมกับการแก้ไขภาวะขาดน้ำ
  • เป้าหมายของสารอาหารที่ให้คืออย่างน้อย1/3ของความต้องการ ภายใน 24 ชั่วโมง
  • ถ้าอาเจียนมาอาจจะยังไม่ต้องให้สารอาหารแต่ไม่ควรงดไปเลยควรพิจารณาให้สารอาหารที่โปรตีนและพลังงานสูงจึงจะดี

การถ่ายพยาธิ (Deworming)

  • ให้ Fenbendazole กินต่อเนื่อง 3-5 วัน
  • ให้ Ivermectin (S/C)

อันตรกิริยาของยา (Drug Interactions)

  • Flunixin Meglumine เป็นพิษต่อไต และควรหลีกเลี่ยงในสัตว์ป่วยที่ช็อก
  • การให้ Quinolone นาน 5- 8วัน จะปลอดภัย และไม่มีปัญหากับกระดูกอ่อน.
 
 
 
บริษัท เบสท์อะโกร คอมพาเนี่ยน จำกัด ขอแสดงความยินดีกับ สัตวแพทยศาสตร์บัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทุกท่าน
บริษัท เบสท์อะโกร คอมพาเนี่ยน จำกัด ขอแสดงความยินดีกับ สัตวแพทยศาสตร์บัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทุกท่าน และขอต้อนรับบัณฑิตใหม่สู่ เบสท์อะโกร กรุ๊ป ของเรานะค่ะ น้องนุ่น น้องเล็ก และน้องเนี๊ยบ
 
Home | Best Agro | Best Agro Companion | Porq | Knowledge | Webboard | Job | Contact Us
BEST AGRO CO., LTD.
1/7 Moo 19 Kanchanapisek Rd., Salathammasolp,Taveewattana Bangkok Thailand
Tel 662 8856885 Fax 662 8859559
Copyright 2009. Best Agro Co., Ltd. All rights reserved.