Version

Pseudomonas Otitis

การรักษาภาวะหูอักเสบที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อ Pseudomonas ที่สำคัญที่สุดคือการแก้ไขที่สาเหตุหลักและปัจจัยอื่นๆ ซึ่งการติดเชื้อ Pseudomonas นั้นมักจะเป็นสาเหตุรองที่ทำให้เกิดภาวะหูอักเสบ ดังนั้นเมื่อสามารถจัดการที่สาเหตุหลักและปัจจัยอื่นๆได้แล้วก็จะสามารถกำจัดเชื้อ Pseudomonas ไปได้ ซึ่งโดยทั่วไปมักจะทำการรักษาการติดเชื้อ Pseudomonas โดยการให้ยาปฏิชีวนะที่ไวต่อเชื้อนั้น จึงทำให้เมื่อเชื้อเกิดการดื้อยาก็จะทำให้การรักษาไม่ได้ผล ดังนั้นการรักษาภาวะหูอักเสบจากการติดเชื้อ Pseudomonas อย่างถูกต้องนั้นควรจะทำการรักษาหลายๆรูปแบบประกอบกัน

เบื้องต้นคือการเข้าถึงภายในช่องหูและช่องหูส่วนกลาง และทำความสะอาดช่องหูให้ได้มากที่สุด เพื่อเป็นการกำจัดเชื้อโรคออกไป เป็นการลดภาวะการอักเสบจากสารพิษ (toxin) และกำจัดสารพิษและเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิล ซึ่งอาจจะไปขัดขวางการทำงานของยาปฏิชีวนะได้ ซึ่งมักจะเป็นปัญหาในรายที่ใช้ยาปฏิชีวนะในกลุ่ม polymyxin และ aminoglycoside ในการรักษา โดยในรายที่มีสารคัดหลั่ง (exudate) ออกมาภายในช่องหูอย่างรวดเร็วหรือในรายที่เป็นแผลหลุมก็มีความจำเป็นที่จะต้องทำความสะอาดช่องหูอยู่เป็นประจำทุกสัปดาห์หรือวันเว้นวัน ซึ่งความสะอาดของช่องหูนั้นจำเป็นจะต้องอาศัยการทำความสะอาดช่องหูและการกำจัดสารคัดหลั่งให้หมดไป
ส่วนที่สอง คือการใช้ยาฆ่าเชื้อ (disinfectant) และการใช้ยาปฏิชีวนะแบบเฉพาะที่ ซึ่งยาฆ่าเชื้อนั้นมีประโยชน์และไม่ก่อให้เกิดการดื้อยาและมีราคาที่ไม่สูงเกินไป มียาฆ่าเชื้อหลายชนิดที่มีประสิทธิภาพแม้ว่าจะอยู่ในกลุ่ม general I เช่นผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของกรดอะซิติก ซึ่งกรดอะซิติกนี้มีประสิทธิภาพมากในการรักษาช่องหูอักเสบในคน แต่เป็นที่เชื่อกันว่าการทำงานของกรดอะซิติกนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับค่า pH เนื่องจากผลิตภัณฑ์ของกรดอะซิติกอื่นๆนั้นมีประสิทธิภาพที่ไม่เพียงพอต่อการฆ่าเชื้อ Pseudomonas และ Staphylococcus อย่างไรก็ตามมีความเป็นไปได้ว่าผลของยาฆ่าเชื้อนั้นมีความเกี่ยวข้องกับการลดค่า pH ภายในช่องหู (Nuttal and Cole, 2004) กรดอะซิติกนั้นมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการต่อต้านเชื้อ Pseudomonas โดยการใช้สารละลาย 2% สามารถฆ่าเชื้อได้เมื่อสัมผัสกับเชื้อเป็นเวลา 1 นาที ซึ่ง white vinegar คือกรดอะซิติก 5% ได้รับการแนะนำให้ใช้ในการล้างทำความสะอาดหูเมื่อถูกนำมาเจือจางเป็น 2.5% โดยนำมาผสมกับน้ำในปริมาณที่เท่ากันหรือ น้ำ 25% หรือ isopropyl 25% และ white vinegar 50% นอกจากนี้ยังมีการนำกรดบอริก 2% ร่วมกับกรดอะซิติก 2% มาใช้ในทางการค้าด้วยเช่นกัน ซึ่งยาฆ่าเชื้อนี้จะนำมาใช้วันละครั้งก่อนที่จะใส่ยาปฏิชีวนะร่วมกับ glucocorticoid แบบเฉพาะที่ ส่วนเชื้อที่มีการดื้อยาอาจจะใช้ยาฆ่าเชื้อ 2 ชนิดแล้วตามด้วยยาฆ่าเชื้อ โดยยาฆ่าเชื้อชนิดแรกที่ใช้คือกรดอะซิติกแล้วตามด้วย This-EDTA ซึ่ง This-EDTA นี้จะช่วยเพิ่มความสามารถในการแพร่ผ่านของผนังเซลล์เมมเบรนโดยการจับกับแคลเซียมและแมกนีเซียม ซึ่งการทำงานนี้มักจะปรากฏให้เห็นในแบคทีเรียแกรมลบรวมทั้ง Pseudomonas ด้วย และยังแสดงให้เห็นว่ามีผลกระทบน้อยต่อค่า MIC ของ enrofloxacin และ ciprofloxacin เมื่อใช้ในการรักษาเชื้อ Pseudomonas ที่มีความดื้อยา เช่นเดียวกับในรายที่มีความดื้อต่อยา cephalosporin หรือ enrofloxacin
ส่วนที่ 3 คือการใช้ยาปฏิชีวนะเฉพาะที่ โดยในบางประเทศยังมีการเลือกใช้ polymyxin เป็นยาปฏิชีวนะตัวแรกอยู่ซึ่งมีประสิทธิภาพมากในการรักษาการติดเชื้อ Pseudomonas แต่ถ้าภายในช่องหูไม่สะอาดหรือมีสารคัดหลั่งสะสมอยู่ก็จะทำให้ประสิทธิภาพของยาชนิดนี้ลดลงได้ แต่ข้อดีของยาชนิดนี้ ดังเช่น polymyxin E ก็คือความสามารถในการจับกับ endotoxin ซึ่งส่งผลให้ไปลดภาวะการอักเสบและการทำลายเนื้อเยื่อลงได้ ซึ่งยาปฏิชีนะที่นิยมใช้กันมากก็คือ gentamycin (Mometamax®, Schering-Plough Animal Health) หรือยาในกลุ่ม fluoroquinolones เช่น enrofloxacin (Baytril Otic, Bayer) และ marbofloxacin (Aurizon®, Vetroquinol) ซึ่งมีรายงานว่าการใช้ gentamycin แบบเฉพาะที่ทุกชนิดจะทำให้มีความเป็นพิษต่อช่องหู (ototoxicity) แต่อย่างไรก็ตามมีการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการใช้ gentamycin หยอดหูที่มี tempanic membrane ที่ฉีกขาดวันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 21 วันไม่ได้ส่งผลในการเป็น vestibulotoxic หรือ ototoxic ใดๆ นอกจากนี้การใช้ยา enrofloxacin 0.5% แบบเฉพาะที่ร่วมกับ silver sulfadiazine 1.0% พบว่าให้ผลที่ดีในการรักษาช่องหูอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียและยีสต์แม้ว่าจะไม่มียากลุ่ม glucocorticoid ร่วมด้วย ส่วนยาอื่นๆที่สามารถนำมาใช้ผสมเป็นยาหยดร่วมกันได้อีกคือ enrofloxacin 2.27% แบบฉีดปริมาณ 4 ml ร่วมกับ dexamethazone sodiumphosphate (4mg/ml) แบบฉีดปริมาณ 4 ml และ saline หรือ miconazole lotion 1% ปริมาณ 8 ml ในกรณีที่มีการติดเชื้อ Malassezia ส่วนยาปฏิชีวนะที่มีการนำมาใช้เป็นอันดับที่ 3 คือ amikacin tobramycin และ ticarcillin โดยนำ amikacin แบบฉีดมาเจือจางให้ได้ความเข้มข้น 25-50 mg/ml ในกรณีที่พบว่าเชื้อมีความดื้อยาก็จะใช้ความเข้มข้นที่สูงขึ้นได้ และยังสามารถนำมาใช้ร่วมกับตัวยาอื่นๆได้เช่นเดียวกับ enroflocacin

ส่วนที่ 4 คือการใช้ glucocorticoid แบบเฉพาะที่ซึ่งมักจะพบเป็นส่วนประกอบร่วมกันอยู่ในยาปฏิชีวนะ ซึ่งยาในกลุ่มนี้ที่มีการใช้มากที่สุดก็คือ mometasone, dexamethasone และ betamethasone โดยใช้ในการลดสารคัดหลั่งและใช้ในรายที่ไม่ตอบสนองต่อการใช้ยาปฏิชีวนะระยะสั้นเพียง 1 ชนิด ขนาดที่ใช้ของ methylprednisolone คือ 1-1.5 mg/kg/day เป็นเวลา 4 วัน จากนั้นลดขนาดลงจนกระทั่งการอักเสบและแผลหลุมหายไป

ส่วนที่ 5 คือการใช้ยาปฏิชีวนะแบบทั้งระบบ (systemic antibiotic) ซึ่งจะใช้เฉพาะกรณีที่เกิดแผลหลุมและไม่ตอบสนองต่อยาทั้ง 4 ส่วนข้างต้นที่กล่าวมา หรือมีการอักเสบของหูชั้นกลางร่วมด้วย หรือกรณีที่มีการแพร่กระจายของโรคอย่างรุนแรง ซึ่งยาปฏิชีวนะที่ใช้นั้นควรเลือกให้เหมาะสมกับเชื้อโรคที่พบจากการเพาะเชื้อ โดยยาที่มักจะนำมาใช้มากที่สุดในการรักษากรณีที่มีการพบเชื้อแบคทีเรียชนิด rod หรือ cocci ร่วมกับ rod ก็คือยาในกลุ่ม fluorozuinolone ในขนาดที่สูง เช่น marbofloxacin ขนาด 5 mg/kg ทุกๆ 24 ชั่วโมง หรือ enrofloxacin ขนาด 12-15 mg/kg ทุก 24 ชั่วโมง

 
 
 
บริษัท เบสท์อะโกร คอมพาเนี่ยน จำกัด ขอแสดงความยินดีกับ สัตวแพทยศาสตร์บัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทุกท่าน
บริษัท เบสท์อะโกร คอมพาเนี่ยน จำกัด ขอแสดงความยินดีกับ สัตวแพทยศาสตร์บัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทุกท่าน และขอต้อนรับบัณฑิตใหม่สู่ เบสท์อะโกร กรุ๊ป ของเรานะค่ะ น้องนุ่น น้องเล็ก และน้องเนี๊ยบ
 
Home | Best Agro | Best Agro Companion | Porq | Knowledge | Webboard | Job | Contact Us
BEST AGRO CO., LTD.
1/7 Moo 19 Kanchanapisek Rd., Salathammasolp,Taveewattana Bangkok Thailand
Tel 662 8856885 Fax 662 8859559
Copyright 2009. Best Agro Co., Ltd. All rights reserved.