Version

Enteral Feeding Devices

เอกสารฉบับนี้เป็นประโยชน์สำหรับผู้ป่วยที่ต้องการสารอาหารซึ่งได้มีการทดลองในสัตว์ทดลอง ซึ่งประกอบด้วยหัวข้อ ดังต่อไปนี้

  • การจัดหาพลังงานที่จำเป็นสำหรับการหายป่วย
  • โครงสร้างของทางเดินอาหาร และหน้าที่
  • การลดลงของเยื่อเมือกต่อเชื้อแบคทีเรีย และ endotoxin
  • การสงวนไว้ในระดับของ IgA
  • การคงอยู่ของระดับโปรตีน เช่น Albumin

ใครมีความจำเป็นสำหรับท่ออาหาร ???
ในผู้ป่วยที่น้ำหนักลดลงเกินกว่า 10 % หรือไม่สามารถกินได้มากกว่า 2 วัน สำหรับในแมวเราจะให้ในกรณีที่แมวเบื่ออาหารหรือไม่กินอาหารมากกว่า 1 วัน หรือเบื่ออาหารมากกว่า 1-3 วัน ภายหลังการผ่าตัด

เราจะใส่ท่อ Naso-oesophageal อย่างไร ???
ท่อ Naso-oesophageal จะใส่ให้กับสัตว์ป่วยที่เบื่ออาหารได้ก็ต่อเมื่อสัตว์ป่วยนั้นต้องมีช่องจมูก คอหอย หลอดอาหารและกระเพาะอาหารที่ปกติ โดยจะใส่ไว้จนกระทั่งสัตว์สามารถกินอาหารได้เอง หรือแข็งแรงขึ้น ซึ่งเราจะห้ามใส่ท่อ Naso-oesophageal ในกรณีที่สัตว์ยังคงอาเจียน ไม่ได้สติ หรือขาด reflex การกลืน

ข้อบ่งชี้ในการใส่ท่อ Naso-oesophageal 

  • แมวเบื่ออาหารในกรณีที่ถูกกัด ดีซ่าน โลหิตจาง collapse ฯลฯ
  • โรคสุนัขที่ติดเชื้อ Parvo virus
  • สุนัขที่มีการต้องการอาหาร รวมไปถึงสุนัข แมวหลังการผ่าตัด
    • ความยาวของท่อจะวัดจากส่วนปลายจมูก จนถึงช่องว่างระหว่างซี่โครงท่อนที่ 5 โดยท่อที่ใส่เข้าไปจะอยู่ใกล้กับ Cardia ของกระเพาะอาหาร ซึ่งอาจเหนี่ยวนำให้เกิดการอาเจียนได้
    • ก่อนสอดท่อต้องใช้ยาชาเฉพาะที่ ( Lidocaine4-5 หยด ) หยดลงบริเวณจมูก โดยไม่เกิน 4 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ซึ่งในแมวหากหยดเกินจะทำให้เกิด Haemolysis ได้
    • ส่วนปลายของท่อจะต้องหล่อลื่นด้วยน้ำยาหล่อลื่นก่อน

วิธีการสอดท่อ Naso-oesophageal

แมว : ส่วนปลายของท่อจะต้องสอดผ่านเข้าไปทาง Ventro-medial ซึ่งจะอยู่ด้านในของตาหรือตรงข้ามกับตา โดยท่อจะผ่าน Ventral Meatus Nasopharynx และเข้าสู่หลอดอาหาร ซึ่ง Catheter เบอร์ 8 French สามารถใช้ได้ในแมวน้ำหนักมากกว่า 3 กิโลกรัม

สุนัข : สอดท่อผ่านช่องจมูกเข้าไปในทิศทาง Ventro-medial เหมือนในแมว แต่จะต้องใช้นิ้วหัวแม่มือ ดันให้ส่วนปลายของจมูกแหงนขึ้นก่อนสอดท่อเข้าไป ซึ่งหากไม่สามารถสอดท่อเข้าไปได้ ก็ให้ดึงท่อถอนออกมาก่อน แล้วค่อยสอดเข้าไปใหม่ มิฉะนั้นจะทำให้ท่อไปดันในส่วนของ Ethmoid Turbinate เสียหายได้ หลังจากสอดท่อเรียบร้อยแล้วจะต้องใช้กาวติดหรือ suture เย็บตรึงท่อไว้นอกจากนี้ควรที่จะใส่ Elizabethan collar ด้วยเพื่อป้องกันสัตว์ใช้เท้าเขี่ยออก

การตรวจสอบตำแหน่งของท่อในหลอดอาหาร

สุนัข : ให้ฉีดน้ำเข้าไปในท่อ 3-7 ml และสังเกตุการไอของสุนัขหรือหากสามารถฉีดอากาศเข้าไปได้ 10-20 ml แสดงว่าท่อเข้าไปในท่อลมแต่ถ้าเป็นสุญญากาศแสดงว่าท่อเข้าหลอดอาหารแล้ว

แมว : ต้องตรวจสอบด้วยการ x-ray ช่องอกในท่านอนตะแคงซึ่งจะพบลักษณะทึบรังสีของท่ออยู่ภายในหลอดอาหาร การทำ Oesophagostomy tube สามารถทำได้ง่ายโดยใช้เวลาเพียง 5 นาที ซึ่งมักจะทำในกรณีที่สัตว์ป่วยต้องการให้อาหารโดยตรงสุ่หลอดอาหารเป็นเวลานานๆ โดยสัตว์ป่วยไม่สามารถกินอาหารได้เอง สำหรับข้อแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นในการทำ Oesophagostomy tube ก็คือการเป็นแผลติดเชื้อบริเวณที่สอดท่อเข้าสู่หลอดอาหาร

วิธีการทำ Oesophagostomy tube

  • ทำ local anesthesia บริเวณด้านหลังของลำคอ
  • ตำแหน่งที่เจาะอยู่ทางด้านซ้ายของลำคอ
  • ให้วัดความยาวของท่อที่ใส่จนถึงช่องว่างระหว่างซี่โครงที่ 5
  • ใส่ forceps โค้งผ่านปากเพื่อที่จะทำให้ผิวหนังตรงกลางลำคอนูนขึ้น
  • กรีดผิวหนังของลำคอในแนวยาวแล้วทำการ blunt แยกเนื้อเยื่อให้ขาดออกจากกัน
  • นำส่วนปลายของ catheter สอดผ่านเข้าไปในหลอดอาหารและดึงออกมาจากปากโดยใช้ artery forceps
  • จากนั้นให้นำส่วนของท่อที่ขดอยู่ในปากใส่เข้าไปในหลอดอาหาร
  • ทำการเย็บ fix ท่อติดกับผิวหนังด้วยวิธีใช้ Chinese finger suture โดยเย็บรั้งกับส่วนของ periosteum ของกระดูก atlas
  • ทำการx-ray ช่องอกเพื่อยืนยันว่าท่อที่ใส่ไม่ลึกจนเกินไปหรือขดกันเป็นก้อน
  • ใช้ยาฆ่าเชื้อเฉพาะที่ทาบริเวณแผลและ bandage คอไว้หลวมๆ

การทำ Gastrostomy tubes
จะทำในกรณีที่สัตว์ป่วยไม่ยอมกินอาหาร เบื่ออาหาร หรือกลืนอาหารโดยจะต้องทำการให้อาหารเป็นเวลานานตั้งแต่สัปดาห์ถึงเดือนวึ่งขนาดของท่อที่ใช้ทำ Gastrostomy จะมีเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่กว่าท่อที่ทำ Oesophagostomy ดังนั้นสามารถให้อาหารหรือยาจัดการปั่นลงไปในท่อดังกล่าวได้เลย แต่การ Gastrostomy ห้ามทำในกรณีที่สัตว์ยังคงอาเจียนอยู่ ไม่ได้สติ และมีการอุตตันของการเดินอาหาร

เทคนิคการทำ Percutaneous Endoscopic Gastrostomy
จับสัตว์ในท่านอนตะแคงขวาและเตรียมการทำศัลยกรรมบริเวณผิวหนังส่วนหลังของ left costal arch จากนั้นสอด Endoscope เข้าไปในกระเพาะอาหารและเป่าลมให้กระเพาะอาหารขยายตัวขั้นแต่ต้องไม่ขยายจนตึงเกินไปซึ่งตำแหน่งที่เหมาะสมสำหรับการกรีดเปิดกระเพาะอาหาร เราจะพิจารณาจากการดูด้วยกล้อง Endoscope เมื่อได้ตำแหน่งที่เหมาะสมแล้วให้ทำการกรีดผิวหนังเล็กน้อยและใช้ IV-catheter ดันผ่านผนังลำตัวและเข้าไปสู่ช่องว่างของกระเพาะอาหารจากนั้นท่ออาหารจะถูกสอดผ่านจากปากสู่หลอดอาหารเข้าไปสู่กระเพาะอาหารและถูกดึงออกมาจากผนังช่องท้องและสุดท้ายก็เย็บรั้งท่อด้วย Nylon ติดกับผิวหนังบริเวณช่องท้อง

เทคนิคการทำ Blind Percutaneous Gastrostomy
ท่อที่ใช้ทำ Percutaneous Gastrostomy เป็นท่อสแตนเลส ซึ่งวัดความยาวตั้งแต่ nasal septum จนถึง iliac crest และเพิ่มความยาวไปอีก 15 cm. จากที่วัดได้ โดยเส้นผ่าศูนย์กลางของท่อเท่ากับ 1.2 cm. ในสุนัขที่น้ำหนักน้อยกว่า 10 kg. และ 2.5 cm. สำหรับสุนัขที่หนักมากกว่า 20 kg จากนั้นทำการสอดท่อผ่านปากลงสู่กระเพาะอาหาร และกรีดผิวหนังเหนือส่วนปลายสุดของท่อ และใช้ Catheter เบอร์ 14 ในการเจาะเข้าไปยังช่องว่างของกระเพาะอาหารทำให้ท่อผ่านออกมาจากกระเพาะอาหารได้ และทำการเย็บรั้งท่อเอาไว้แบบ guitar string

เทคนิคการทำ surgical tube gastrostomy
เทคนิคนี้จะทำในกรณีที่สัตว์ป่วยอ้วน มีพยาสธิสภาพหรือมีการอุดตันในหลอดอาหาร ซึ่งวิธีการทำสามารถที่จะกรีดเปิดผ่าที่แนวกลางของช่องท้เองหรือ กรีดในแนว left paracostal ยาวประมาณ 3-5 cm. โดยเริ่มกรีดตำแหน่งที่ต่ำลงมาจากกล้ามเนื้อ epaxial ประมาณ 2-4 cm. บริเวณด้านท้ายของกระดูกซี่โครงท่อนสุดท้าย เมื่อทำการกรีดผ่าเข้าไปในช่องท้องแล้วก็ให้ทำ stay suture ที่ชั้น seromuscular ของกระเพาะอาหารในตำแหน่ง 12 นาฬิกา และ 6 นาฬิกา จากนั้นให้ทำการเย็บแบบ two full-thickness purse string ในตำแหน่งที่จะสอดท่อที่กระเพาะอาหาร เมื่อเย็บ purse string เสร็จก็ให้กรีดตรงกลางบริเวณที่เย็บ purse string เอาไว้ แล้วทำการสอดท่อลงไปในกระเพาะอาหาร จากนั้นก็ใช้ Nylon 2/0 เย็บที่ให้ติดกับกระเพาะอาหารเอาไว้

การนำเอาท่อที่ทำ gastrostomy ออก
แนะนำให้เอาออกเมื่อคาท่อไว้นาน 7-10 วัน แล้วซึ่งท่อสามารถนำออกโดยตัดที่ท่อผนังช่องท้องแล้วให้ท่อที่อยู่ในกระเพาะอาหารออกปนมากับอุจจาระ ซึ่งวิธีการนี้เหมาะสมกับสุนัขขนาดกลางจนถึงใหญ่ นอกจากนี้ยังพบว่ารูของท่อที่กระเพาะอาหารจะสามารถติดกันภายใน 24 ชั่วโมง.

 
 
 
บริษัท เบสท์อะโกร คอมพาเนี่ยน จำกัด ขอแสดงความยินดีกับ สัตวแพทยศาสตร์บัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทุกท่าน
บริษัท เบสท์อะโกร คอมพาเนี่ยน จำกัด ขอแสดงความยินดีกับ สัตวแพทยศาสตร์บัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทุกท่าน และขอต้อนรับบัณฑิตใหม่สู่ เบสท์อะโกร กรุ๊ป ของเรานะค่ะ น้องนุ่น น้องเล็ก และน้องเนี๊ยบ
 
Home | Best Agro | Best Agro Companion | Porq | Knowledge | Webboard | Job | Contact Us
BEST AGRO CO., LTD.
1/7 Moo 19 Kanchanapisek Rd., Salathammasolp,Taveewattana Bangkok Thailand
Tel 662 8856885 Fax 662 8859559
Copyright 2009. Best Agro Co., Ltd. All rights reserved.