Version

อาหารเสริมที่จำเป็นสำหรับสัตว์ป่วยภาวะหลังการผ่าตัด

           การป้อนอาหารนั้นมีความจำเป็นสำหรับสัตว์ป่วยที่จะทำให้ได้รับอาหารเสริมที่เหมาะสม ซึ่งมีความสำคัญต่อสัตว์ป่วยในภาวะหลังผ่าตัดที่การซ่อมแทรมของเนื้อเยื่อและการต่อต้านต่อภาวะการติดเชื้อมีความสำคัญมาก

           การสร้างเนื้อเยื่อและการหายของแผลนั้นขึ้นอยู่กับสารอาหารทั้งแบบเฉพาะที่และทั้งร่างกาย ซึ่งกรดอะมิโนและคาร์โบไฮเดรตนั้นมีความจำเป็นต่อการสังเคราะห์คอลลาเจนและ ground substance ในขณะที่ไฟโบรบลาสต์ต้องการพลังงานในการสังเคราะห์ RNA DNA และ ATP ซึ่งมีความจำเป็นต่อโปรตีน ส่วนตับและไขกระดูกต้องการพลังงานและโปรตีนสำหรับการสร้างกลูโคส complement เกล็ดเลือด ลิวโคไซต์ และโมโนไซต์ จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าสัตว์ป่วยภาวะหลังผ่าตัดที่ได้รับอาหารเสริมมีอัตราการสังเคราะห์โปรตีนที่สูงกว่ามากเมื่อเปรียบเทียบกับการเสื่อมสลายของโปรตีนในขณะที่สัตว์ป่วยที่ไม่ได้รับอาหารเสริมจะมีการเสื่อมสลายของโปรตีนที่สูงกว่า

           ระบบภูมิคุ้มกันนั้นมีความไวมากที่จะได้รับผลกระทบจากการขาดอาหาร และในสัตว์ป่วยภาวะหลังการผ่าตัดนั้นระบบภูมิคุ้มกันจะมีผลต่อการติดเชื้อแทรกซ้อนที่จะตามมา โดยในมนุษย์การได้รับพลังงานจากโปรตีนที่ลดลงมักจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องซึ่งมีความคล้ายคลึงกันกับในสัตว์เช่นกัน

           มีอีกหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อสมดุลของสารอาหารภายหลังจากการผ่าตัดซึ่งจะส่งผลทำให้เกิดการทำลายเนื้อเยื่อของตัวเอง จากการที่เนื้อเยื่อถูกทำลายจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการเผาผลาญ และสรีระวิทยาในการตอบสนองต่อการลดลงของ catecholamine, adrenocorticoid, glucagon และฮอร์โมนหลายชนิด ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการตอบสนองแบบ fight or flight ซึ่งผลจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนมีดังนี้

  • การกดการหลั่งของอินซูลิน
  • ภาวะ hyperglycemia
  • การเพิ่มการสลายโปรตีน
  • การเพิ่ม cardiac output

การเปลี่ยนแปลงของกระบวนการเหล่านี้จำเป็นต้องมีการวางแผนเกี่ยวกับโภชนาการให้มีความสัมพันธ์กับความต้องการของร่างกาย

ความต้องการทางโภชนาการ

          ความต้องการพลังงานขณะพักในสัตว์ป่วยที่ไม่อยู่ในภาวะขาดอาหารขณะที่อยู่ในกรงและภายในสิ่งแวดลอมที่ปกตินั้นสามารถคำนวณได้จากสูตร RER = 70 + (30 x Body weight) เช่น ในสุนัขที่มีน้ำหนัก 20 กิโลกรัม จะคำนวณได้ 670 กิโลแคลลอรี่ ส่วนในสัตว์ป่วยที่พักฟื้นหลังการผ่าตัดหรือจากการได้รับบาดเจ็บอื่นๆ ค่า RER ควรจะเพิ่มขึ้น 1.25 เท่า เช่นจากกรณีนี้สัตว์ป่วยมีน้ำหนัก 20 กิโลกรัม ควรจะได้รับพลังงานประมาณ 840 กิโลแคลลอรี่ต่อวัน

          เมื่อพิจารณาถึงปริมาณของแคลอรี่ที่ได้รับเราควรคำนึงถึงสมดุลของโภชนาการให้เพียงพอต่อกระบวนการหายของแผลให้มากที่สุดและเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการตอบสนองต่อความเครียดของสัตว์ป่วย ซึ่งความต้องการโปรตีนของร่างกายนั้นจะเพิ่มขึ้นตามอัตราการสร้างของเนื้อเยื่อและส่วนประกอบของระบบภูมิคุ้มกัน

          เนื่องจากสัตว์ป่วยภาวะหลังการผ่าตัดมักจะไม่กินอาหารได้เท่ากับในภาวะปกติ ดังนั้นอาหารที่ได้รับควรจะมีความเข้มข้นของแคลอรี่ที่สูง เช่น ไขมันจะสามารถให้พลังงานได้มากถึง 2.5 เท่าของพลังงานจากโปรตีนหรือคาร์โบไฮเดรต ซึ่งแม้ว่าจะมีผลข้างเคียงทำให้เกิดภาวะตับอ่อนอักเสบได้แต่อย่างไรก็ตามสามารถนำไขมันมาใช้เป็นแหล่งพลังงานได้ ส่วนวิตามินโดยเฉพาะวิตามินบีซึ่งอาจมีผลต่อการทำงานของตับก็สามารถนำมาให้เสริมได้โดยทางหลอดเลือดดำ ซึ่งอาหารสัตว์เลี้ยงส่วนใหญ่จะมีวิตามินและแร่ธาตุที่เพียงพอที่จะทำให้สัตว์ป่วยได้รับสารอาหารในปริมาณที่เหมาะสมอยู่แล้ว

วิธีการให้อาหาร

          สัตว์ป่วยภาวะหลังการผ่าตัดจะมีความอยากอาหารลดลงอาจเนื่องมาจากปัจจัยต่างๆเช่น ผลของยาสลบ และความเจ็บปวดที่เกิดขึ้น ดังนั้นการให้ยาระงับความเจ็บปวดและการทำให้สัตว์รู้สึกสบายจะสามาถทำให้สัตว์ป่วยมีความอยากอาหารเพิ่มขึ้นได้ โดยส่วนใหญ่แล้วเรามักจะเริ่มป้อนอาหารให้แก่สัตว์ป่วยให้ทันทีเมื่อฤทธิ์ของยาสลบหมดลงขึ้นอยู่กับชนิดของการผ่าตัด ซึ่งอาหารที่ให้นั้นควรจะมีความน่ากินสูงและอาจจำเป็นต้องอุ่นอาหารเพื่อเพิ่มความน่ากินให้มากขึ้น และในบางกรณีอาจมีความจำเป็นในการให้อาหารจากมือของผู้เลี้ยง

          ถ้าสัตว์ป่วยไม่มีการตอบสนองต่อการกินอาหารภายใน 24 ชั่วโมงหลังการผ่าตัดเราควรพิจารณาถึงเทคนิคอื่นๆที่จะทำให้สัตว์ได้รับอาหารได้ เช่น การให้ยาที่เพิ่มความอยากอาหาร เช่น cyproheptadine และ diazepam

          การป้อนอาหารโดยใช้กระบอกฉีดยาและใส่อาหารชนิดกึ่งแข็งกึ่งเหลวแล้วป้อนเข้าไปในบริเวณคอหอยจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการตอบสนองต่อการกลืนได้ ซึ่งอาจจะมีการต่อต้านและควรระมัดระวังมิให้สัตว์ป่วยได้รับบาดเจ็บ ในสุนัขควรป้อนให้กระบอกฉีดยาเข้าไปอยู่ระหว่างแก้มและฟันกราม ส่วนในแมวควรป้อนให้กระบอกฉีดยาอยู่ระหว่างฟันตัดทั้ง 4 และในบางกรณีที่สัตว์ไม่ยอมกลืนอาหารเราควรจะระมัดระวังไม่ป้อนอาหารมากเกิดไปจนอาจทำให้เกิดการสำลักได้

          ขั้นตอนต่อมาคือการใช้ orogastric tube และควรใช้เฉพาะสัตว์ป่วยที่มีการผ่าตัดหลายอย่างที่ต้องการการป้อนอาหาร 2-3 วัน ควรทำการหล่อลื่นท่ออาหารและวัดระยะให้ตรงกับกระดูกซี่โครงซี่ที่ 9 และทำการใส่อย่างนิ่มนวล เมื่อสัตว์กลืนท่อแล้วทำการวัดตำแหน่งของท่อโดยการป้อนน้ำสะอาดเข้าไป อาจใช้ที่ถ่างปากเพื่อป้องกันการกัดเคี้ยวท่อได้

Nasoesophageal tube

          สามารถใส่ nasoesophageal tube ไว้ได้เป็นเวลานาน (1-2 สัปดาห์) ซึ่งที่ตำแหน่งบริเวณหลอดอาหารส่วนท้ายจะเหมาะสมกว่าบริเวณกระเพาะอาหารเนื่องจากสามารถป้องกันการไหลย้อนกลับของอาหารได้ การใส่ท่ออาหารนี้สามารถใส่ได้โดยไม่ต้องวางยาสลบหรือยาซึม เนื่องจากภายหลังการให้ยาสลบวจะทำให้ท่ออาหารนั้นผ่านไปทางด้าน ventromedial โดยตรงเพื่อหลบหลีกกระดูก ethmoturbinate ทำให้ไม่ผ่านจุดที่จะทำให้เกิดการตอบสนองการกลืนได้ เมื่อใส่ท่อได้แล้วควรตรวจสอบตำแหน่งที่เหมาะสมโดยการใส่อาดเข้าไปจากนั้นทำการยึดท่อโดยการเย็บท่อติดไว้กับผิวหนังและใส่ collar

Pharyngostomy/ Esophagostomy Tubes

          สำหรับสัตว์ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณช่องปากอาจจะต้องทำการใส่ท่ออาหารไว้เป็นเวลานาน (สัปดาห์ถึงเดือน) โดยการใช้ pharyngostomy tube หรือ esophagostomy tube ซึ่งขั้นตอนนี้จำเป็นต้องใช้การวางยาสลบและอาจทำให้เกิดการติดเชื้อแทรกซ้อน เลือดออก และการสำลักตามมาได้

Gastrotomy Tubes

          ปัจจุบันเริ่มมีการนำ gastrotomy tube มาใช้มากขึ้น ซึ่งวิธีนี้จะต้องใช้ endoscope เข้ามาช่วยแต่ก็ถือว่าเป็น blind method ซึ่งสามารถใช้อุปกรณ์พิเศษมาทำให้วิธีนี้ง่ายขึ้นได้ โดยอาหารจะสามารถผ่านเข้าไปยังกระเพาะอาหารได้โดยตรงทำให้สัตว์ป่วยสามารถได้รับอาหารมากเท่าที่ร่างกายต้องการ

 
 
 
บริษัท เบสท์อะโกร คอมพาเนี่ยน จำกัด ขอแสดงความยินดีกับ สัตวแพทยศาสตร์บัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทุกท่าน
บริษัท เบสท์อะโกร คอมพาเนี่ยน จำกัด ขอแสดงความยินดีกับ สัตวแพทยศาสตร์บัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทุกท่าน และขอต้อนรับบัณฑิตใหม่สู่ เบสท์อะโกร กรุ๊ป ของเรานะค่ะ น้องนุ่น น้องเล็ก และน้องเนี๊ยบ
 
Home | Best Agro | Best Agro Companion | Porq | Knowledge | Webboard | Job | Contact Us
BEST AGRO CO., LTD.
1/7 Moo 19 Kanchanapisek Rd., Salathammasolp,Taveewattana Bangkok Thailand
Tel 662 8856885 Fax 662 8859559
Copyright 2009. Best Agro Co., Ltd. All rights reserved.